วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

จิตอาสา ทำขาเทียม

เมื่อวันที่ 25 มี.ค.2558 คณะกรรมการติดตามคุณภาพชีวิตผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด เข้าเยี่ยมชม "ศูนย์บริการขาเทียม" อบต.โดมประดิษฐ์ อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี เพื่อเรียนรู้ขั้นตอนการผลิตขาเทียม และสอบถามปัญหาข้อขัดข้องในการให้บริการ 



พวกเราได้พบกับผู้พิการจากการเหยียบทุ่นระเบิดที่เป็นจิตอาสา 2 คน คือ นายใส ละเม็ก อายุ 42 ปี และ นายรัส สุทะนัง อายุ 45 ปี ทั้ง 2 คนเป็นเจ้าหน้าที่ผลิตขาเทียมให้แก่ผู้พิการที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี จ.ศรีสะเกษ จ.สุรินทร์ จ.บุรีรัมย์ ที่มาขอใช้บริการ (ฟรี ครับ ผู้พิการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ)  ทั้ง 2 คน เป็นลูกจ้างรายปี ของ อบต.โดมประดิษฐ์ เขาเล่าถึงการทำงานของเขาว่า 



"ถึงแม้เงินค่าตอบแทนจะไม่มาก แต่เขาทั้งสองดีใจ ที่ได้ช่วยเหลือผู้พิการด้วยกัน ใครจะรู้เรื่องขาเทียมได้ดีเท่าคนพิการว่า เวลาใส่แล้วมันเจ็บหรือไม่เจ็บ นอกจากผู้พิการด้วยกันเอง"



เขาทั้งสองคน ได้รับการอบรมการทำขาเทียมจาก "มูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี" ที่ จ.เชียงใหม่ และเริ่มทำขาเทียมให้คนพิการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน พวกเราได้มอบเข้มกลัด "Lend Your Leg" เพื่อขอบคุณในจิตอาสาของทั้งสองคนไว้เพื่อเป็นกำลังใจด้วย 


และในโอกาสนี้ "กองทุน HDO THAILAND เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด"  ได้มอบพัดลมตั้งพื้น 2 ตัว มูลค่า 1,600 บาท ไว้สำหรับให้การบริการแก่ผู้พิการที่มาใช้บริการอีกด้วย (ไม่น่าเชื่อครับ ว่าที่ศูนย์บริการฯ แห่งนี้ไม่มีพัดลมแม้สักตัวเดียว อากาศยามกลางวันก็ร้อนอบอ้าว) นอกจากนั้นยังได้มอบเงินสดไว้สำหรับใช้จ่ายยามจำเป็นในครอบครัวให้อีกคนละ 500 บาท รวม 1,000 บาท เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงานต่อไป

*********************************

คุณตาสุรินทร์ฯ พิการมา 30 ปีแล้ว

เมื่อวันที่ 25 มี.ค.2558 คณะกรรมการติดตามคุณภาพชีวิตผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด เข้าเยี่ยมบ้าน คุณตาสุรินทร์ ตั้งมั่น อายุ 76 ปี บ้านภูมิซรอล ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ พิการขาขาดข้างขวา เพราะเหยียบทุ่นระเบิดมา 30 ปีแล้ว ลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวใหญ่ครับ มีพี่น้องและบุตรชาย บุตรสาว 6 คน พร้อมสะใภ้และลูกเขย อยู่รวมกัน หลานเหลนมีจนนับไม่ถ้วน กำลังเรียนหนังสืออยู่หลายคน อาชีพหลักของครอบครัวถักหญ้าคาขาย ทำไร่ ขนาดพื้นที่ไม่มากนัก บางครั้งราคาพืชผลก็ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง สลับกันไป ลูกหลานบางคนก็มีอาชีพรับจ้างทั่วไปและขายแรงงาน ฐานะครอบครัวโดยรวมค่อนข้าง "ขัดสน"

วันนั้น "กองทุน HDO THAILAND เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด" ได้มอบเงินดำรงชีวิตให้กับครอบครัวคุณตาสุรินทร์ จำนวน 3,000 บาท แกดีใจจนน้ำตาซึมเลยครับ พวกเราบอกแกว่า "พวกเราก็มีไม่มากนัก แต่เป็นสิ่งที่พวกเราตั้งใจให้ ขอให้คุณตาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อครอบครัวให้มากที่สุดก็แล้วกัน"









วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

ICBL ประเมินประสิทธิภาพ HDO ไทย

โครงการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิดของประเทศรัฐภาคีตามอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิตและโอน และการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (อนุสัญญาออตตาวา)

















ในปี พ.ศ.2557  ทีมตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิดของ International Campaign to Ban Landmines (ICBL) ได้คิดค้นและพัฒนา "โครงการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิด " ของประเทศต่างๆ ที่เป็นรัฐภาคีตามอนุสัญญาออตตาวา (ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2557) ขึ้นเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่มีการลงนามในอนุสัญญาออตตาวา โดยโครงการนี้ มีการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิดของแต่ละประเทศใน 10 ด้าน แต่ละด้านมีคะแนนเต็ม 10 คะแนน ได้แก่ 

  1. ด้านที่ 1 ความเข้าใจปัญหาภัยคุกคามที่มีอยู่ของทุ่นระเบิด 
  2. ด้านที่ 2 แนวโน้มความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
  3. ด้านที่ 3 การกำหนดเป้​​าหมายในการกวาดล้างทุ่นระเบิด
  4. ด้านที่ 4 ประสิทธิภาพของการกวาดล้างทุ่นระเบิด
  5. ด้านที่ 5 การระดมแหล่งเงินทุนจากนานาชาติ
  6. ด้านที่ 6 กวาดล้างทุ่นระเบิดได้ทันเวลาที่ต้องการและเป็นไปตามความเร่งด่วน
  7. ด้านที่ 7 ระบบการปรับลดพื้นที่ด้วยวิธี Land Release
  8. ด้านที่ 8 การปฏิบัติการตามมาตรฐานการปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (NMAS)
  9. ด้านที่ 9 รายงานความคืบหน้าตามอนุสัญญา
  10. ด้านที่ 10 การปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน (ภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา)
เกณฑ์การแปลความหมาย
  • คะแนนเฉลี่ย 0.0-3.9 หมายถึง มีประสิทธิภาพน้อยมาก 
  • คะแนนเฉลี่ย 4.0-4.9 หมายถึง มีประสิทธิภาพน้อย
  • คะแนนเฉลี่ย 5.0-6.9 หมายถึง มีประสิทธิภาพปานกลาง
  • คะแนนเฉลี่ย 7.0 หรือสูงกว่า หมายถึง มีประสิทธิภาพมาก
ตารางเปรียบเทียบโครงการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิดของประเทศรัฐภาคีตามอนุสัญญาออตตาวา พ.ศ.2557 เฉพาะประเทศไทยและประเทศกัมพูชา
ลำดับ
ด้าน
ประเทศไทย
ประเทศกัมพูชา
คะแนน
ประสิทธิภาพ
คะแนน
ประสิทธิภาพ
1
ความเข้าใจปัญหาภัยคุกคามที่มีอยู่ของทุ่นระเบิด  
4
น้อย
3
น้อยมาก
2
แนวโน้มความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
4
น้อย
7
มาก
3
การกำหนดเป้าหมายในการกวาดล้างทุ่นระเบิด
5
ปานกลาง
6
ปานกลาง
4
ประสิทธิภาพของการกวาดล้างทุ่นระเบิด
5
ปานกลาง
6
ปานกลาง
5
การระดมแหล่งเงินทุนจากนานาชาติ
5
ปานกลาง
7
มาก
6
กวาดล้างทุ่นระเบิดได้ทันเวลาที่ต้องการและเป็นไปตามความเร่งด่วน
4
น้อย
5
ปานกลาง
7
ระบบการปรับลดพื้นที่ด้วยวิธี Land Release
6
ปานกลาง
6
ปานกลาง
8
การปฏิบัติการตามมาตรฐานการปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (NMAS)
6
ปานกลาง
7
มาก
9
รายงานความคืบหน้าตามอนุสัญญา
4
น้อย
6
ปานกลาง
10
การปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน (ภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา)
7
มาก
7
มาก

รวม
5
ปานกลาง
6
ปานกลาง

ที่มา : ICBL. (2014). Mine Action Program Performance. [Online]. Available :  http://the-monitor.org/index.php/LM/Our-Research-Products/MARanking [2558.มีนาคม 19] 

วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

HDO กำลังใจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด



เขาเหล่านี้ ไม่ได้พิการมาแต่กำเนิด เขาพิการเพราะ "เหยียบทุ่นระเบิด" ที่ตกค้างจากการสู้รบในอดีต ..วันนี้ ผู้ประสบภัยหลายคน กลับตกอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ 
คุณภาพชีวิตต่ำ ขาดความเท่าเทียมในสังคม ไร้ซึ่งกำลังใจในชีวิต"

ติดต่อบริจาค
"กองทุน HDO THAILAND เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ­่นระเบิด" 














********************************